ออกแบบเพื่อการก่อสร้าง


งานออกแบบอาคาร เป็นหน้าที่ของ สถาปนิก วิศวกร โครงสร้าง และ วิศวกรงานระบบ ซึ่งการออกแบบที่ดี จะต้องออกแบบได้ ตรงกับความต้องการของเจ้าของงาน และรูปแบบสวยงาม อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้ตามต้องการ ตามหลักสถาปัตย์ ระบบโครงสร้างที่เลือกใช้ เหมาะสมกับรูปแบบอาคาร และที่ดินที่มีอยู่ ออกแบบได้ประหยัดและแข็งแรง วัสดุที่เลือกใช้มีความเหมาะสม ทันสมัยโดยทั่วๆไป ในขั้นตอนออกแบบ เจ้าของงานจะไม่สามารถตรวจสอบว่าแบบดีหรือไม่ แต่จะไปรู้อีกทีก็ตอนก่อสร้าง และใช้อาคารไปแล้ว เช่น งานก่อสร้างราคาแพงผิดปรกติ, อาคารแตกร้าว, ทรุด, ใช้งานไม่สะดวกสบาย, ร้อน, แสงสว่างไม่พอ, น้ำรั่วเข้าอาคาร ฯลฯ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้เมื่อเกิดแล้วอาจจะไม่มีทางแก้ไข หรือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงมาก ดังนั้นขั้นตอนออกแบบ จึงมีความสำคัญมาก ควรจะ เลือกผู้ออกแบบ ที่มีประสบการณ์ และผลงานน่าเชื่อถือ ความผิดพลาดในขั้นตอนออกแบบอาจทำให้ต้องเสียเงินกับงานก่อสร้างมากขึ้น อีกทั้งอาคารก็ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง บริการงานออกแบบประกอบด้วย

ออกแบบสถาปัตยกรรม

ด้วยทีมงานสถาปนิกที่ออกแบบอาคารทางด้านสถาปัตยกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางด้านกฎหมายก่อสร้าง,สภาพภูมิประเทศ,ภูมิอากาศ และคำนึงถึงการใช้พื้นที่ใช้สอย ให้สามารถใช้ประโยชน์จากอาคารได้เต็มความต้องการของผู้ใช้อาคารและสอดคล้องกับรูปแบบ Design ในปัจจุบัน

ออกแบบสถาปัตยกรรม

แบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบแสดงรายละเอียดของอาคารประกอบด้วย

•   แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด
•   แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด
•   แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป
•   แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง
•   แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้
•   แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็กการรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต
•   แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
•   แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

ออกแบบโครงสร้าง

หลังจากที่ได้แบบทางด้านสถาปัตยกรรม ทางวิศวกรโครงสร้างจะได้นำแบบสถาปัตยกรรมมาวิเคราะห์,คำนวณโครงสร้างเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับอาคารและทำรายละเอียดแบบของงานโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น อาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จ โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างพื้น Post-Tension หรืออื่นๆ รวมถึง งานโครงสร้างฐานราก โครงสร้างหลังคา เพื่อให้แบบอาคารมีความสมบูรณ์ และปลอดภัย สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างได้จริงหรือสำหรับผู้อยู่อาศัย

แบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นแบบแสดงรายละเอียดงานโครงสร้าง ประกอบด้วย

Structure design

•   แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด
•   แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด
•   แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป
•   แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง
•   แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้
•   แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็กการรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต
•   แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
•   แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

ออกแบบตกแต่งภายใน

เป็นการออกแบบงานตกแต่ง,งานเฟอร์นิเจอร์ ภายในอาคาร เพื่อให้มีความสวยงาม สอดคล้องกับแนวคิดในการออกแบบหรือการใช้งานของพื้นที่ ตั้งแต่การวางผังเครื่องเรือน การพิจารณาเลือกรูปแบบ ( Style ) ของเครื่องเรือน การเลือกวัสดุตกแต่ง การกำหนดสีและแสงจนถึงขั้นสุดท้าย คือ การเลือกสิ่งตกแต่งประกอบเพื่อความสวยงาม เช่น โคมไฟระย้า รูปภาพ ต้นไม้ ฯลฯ

การออกแบบตกแต่งภายใน มีความสำคัญและสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอาคารมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารประเภทเพื่อพักอาศัย เช่น บ้าน,คอนโดมิเนียม.โรงแรม หรือเพื่อการพาณิชย์ และใช้สอยอื่นๆ เช่น โชว์รูม ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน เป็นต้น

ความสำคัญและประโยชน์ของงานออกแบบตกแต่งภายใน

หากมีการออกแบบตกแต่งที่ดี มีความสวยงามและสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน ก็จะช่วยให้การดำรงชีวิตภายในอาคารนั้น ได้รับสะดวกสบายทั้งกาย(ในแง่การใช้งาน)และจิตใจ(ในแง่ความสวยงามหรือ Style) หรือสำหรับอาคารเพื่อการพาณิชย์

การออกแบบที่ดี ก็ช่วยเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ และดึงดูดความสนใจ ด้วยสถานที่แสดงสินค้าหรือบริการ ที่มีการตกแต่งที่สวยงามและเร้าใจให้เกิดความสนใจต่อธุรกิจได้เป็นอย่างดี

Interior design

ออกแบบระบบอาคาร

ออกแบบงานระบบอาคาร เป็นอีกส่วนประกอบสำคัญสำหรับอาคาร หลังจากที่งานออกแบบโครงสร้างแล้วเสร็จ งานระบบประกอบอาคาร จะสามารถทำให้อาคารสมบูรณ์พร้อมสำหรับการใช้อาคาร ซึ่งประกอบไปด้วย
▬   งานระบบไฟฟ้า ประกอบไปด้วย ไฟฟ้าระบบแรงสูง, ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ, ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง, ระบบเต้ารับ, ระบบป้องกันฟ้าผ่า
▬   งานระบบสื่อสาร ประกอบไปด้วย ระบบโทรศัพท์, ระบบป้องกันอัคคีภัย, ระบบ Lan, ระบบเน็ตเวิร์ค, ระบบวงจรปิด ระบบCCTV,ระบบการควบคุมการเข้าออก (Access Control), ระบบSound
▬   ระบบสุขาภิบาล ประกอบไปด้วย ระบบน้ำดี, ระบบน้ำเสีย, ระบบบำบัดน้ำเสีย,ระบบดับเพลิง, ระบบน้ำอุ่น, การเดินแนวท่อระบบสุขาภิบาลภายในอาคาร
▬   ระบบปรับอากาศ ประกอบด้วย ระบบระบายอากาศ, ระบบปรับอากาศ, ระบบท่อน้ำยา, ระบบท่อน้ำเย็น, ระบบท่อน้ำระบายความร้อน, ระบบท่อน้ำทิ้ง

M&E design

แบบกรรมสุขาภิบาลเป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบสุขาภิบาลของอาคาร ประกอบด้วย

•   แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด
•   แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด
•   แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป
•   แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง
•   แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้
•   แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็กการรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต
•   แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
•   แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด

แบบวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบไฟฟ้าของอาคาร ประกอบด้วย

•   แบบแปลนไฟฟ้าทุกชั้น แสดงรายละเอียดการติดตั้งดวงโคม สวิทซ์ ทุกชั้น
•   แบบแปลนไฟฟ้าแสดงรายละเอียดการติดตั้งปลั๊กไฟ ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กทีวี ไฟฉุกเฉิน กริ่งไฟฟ้า และแผงสวิทซ์บอร์ดทุกชั้น
•   รายการประกอบแบบไฟฟ้าระบุชนิด ยี่ห้อดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อย่างละเอียด
•   มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ